วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2554

ภาษาไทย

คำว่า ไทย หมายความว่า อิสรภาพ เสรีภาพ หรืออีกความหมายหนึ่งคือ ใหญ่ ยิ่งใหญ่ เพราะการจะเป็นอิสระได้จะต้องมีกำลังที่มากกว่า แข็งแกร่งกว่า เพื่อป้องกันการรุกรานจากข้าศึก แม้คำนี้จะมีรูปเหมือนคำยืมจากภาษาบาลีสันสกฤต แต่แท้ที่จริงแล้ว คำนี้เป็นคำไทยแท้ที่เกิดจากกระบวนการสร้างคำที่เรียกว่า 'การลากคำเข้าวัด' ซึ่งเป็นการลากความวิธีหนึ่ง ตามหลักคติชนวิทยา คนไทยเป็นชนชาติที่นับถือกันว่า ภาษาบาลีซึ่งเป็นภาษาที่บันทึกพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นภาษาอันศักดิ์สิทธิ์และเป็นมงคล เมื่อคนไทยต้องการตั้งชื่อประเทศว่า ไท ซึ่งเป็นคำไทยแท้ จึงเติมตัว เข้าไปข้างท้าย เพื่อให้มีลักษณะคล้ายคำในภาษาบาลีสันสกฤตเพื่อความเป็นมงคลตามความเชื่อของตน ภาษาไทยจึงหมายถึงภาษาของชนชาติไทยผู้เป็นไทนั่นเอง
[แก้] ระบบเสียงระบบเสียงในภาษาไทยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ
เสียงพยัญชนะ เสียงสระ เสียงวรรณยุกต์ [แก้] พยัญชนะเสียงสัทอักษรพยัญชนะในภาษาไทย (เสียงแปร) มีอยู่ด้วยกัน 21 เสียงดังต่อไปนี้
ริมฝีปาก
ทั้งสองริมฝีปากล่าง
-ฟันบนปุ่มเหงือกหลังปุ่มเหงือกเพดานแข็งเพดานอ่อนผนังคอ เสียงกัก/p/
ป/pʰ/
ผ,พ/b/
บ/t/
ฏ,ต/tʰ/
ฐ,ฑ*,ฒ,ถ,ท,ธ/d/
ฎ,ฑ*,ด/k/
ก/kʰ/
ข,ฃ,ค,ฅ,ฆ/ʔ/
อ** เสียงนาสิก/m/
ม/n/
ณ,น/ŋ/
ง เสียงเสียดแทรก/f/
ฝ,ฟ/s/
ซ,ศ,ษ,ส/h/
ห,ฮ เสียงผสมเสียดแทรก/t͡ɕ/
จ/t͡ɕʰ/
ฉ,ช,ฌ เสียงรัวลิ้น/r/
ร เสียงเปิด/j/
ญ,ย/w/
ว เสียงข้างลิ้น/l/
ล,ฬ

* ฑ สามารถออกเสียงได้ทั้ง /tʰ/ และ /d/ ขึ้นอยู่กับคำศัพท์ ** เสียง /ʔ/ มีปรากฏอยู่ในคำที่มีสระเสียงสั้นและไม่มีพยัญชนะสะกด [แก้] สระเสียงสระในภาษาไทยแบ่งออกเป็น 3 ชนิดคือ สระเดี่ยว สระประสม และสระเกิน
สระเดี่ยว คือสระที่เกิดจากฐานเพียงฐานเดียว มีทั้งสิ้น 18 เสียง
ลิ้นส่วนหน้าลิ้นส่วนหลัง ปากเหยียดปากเหยียดปากห่อ สั้นยาวสั้นยาวสั้นยาว ลิ้นยกสูง/i/
–ิ/iː/
–ี/ɯ/
–ึ/ɯː/
–ื/u/
–ุ/uː/
–ู ลิ้นกึ่งสูง/e/
เ–ะ/eː/
เ–/ɤ/
เ–อะ/ɤː/
เ–อ/o/
โ–ะ/oː/
โ– ลิ้นกึ่งต่ำ/ɛ/
แ–ะ/ɛː/
แ–/ɔ/
เ–าะ/ɔː/
–อ ลิ้นลดต่ำ/a/
–ะ/aː/
–า [Image]
สระเดี่ยว[Image]
สระประสม

สระประสม คือสระที่เกิดจากสระเดี่ยวสองเสียงมาประสมกัน เกิดการเลื่อนของลิ้นในระดับสูงลดลงสู่ระดับต่ำ ดังนั้นจึงสามารถเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "สระเลื่อน" มี 3 เสียงดังนี้
เ–ีย /iaː/ ประสมจากสระ อี และ อา เ–ือ /ɯaː/ ประสมจากสระ อือ และ อา –ัว /uaː/ ประสมจากสระ อู และ อา ในบางตำราจะเพิ่มสระสระประสมเสียงสั้น คือ เ–ียะ เ–ือะ –ัวะ ด้วย แต่ในปัจจุบันสระเหล่านี้ปรากฏเฉพาะคำเลียนเสียงเท่านั้น เช่น เพียะ เปรี๊ยะ ผัวะ เป็นต้น
สระเสียงสั้นสระเสียงยาวสระเกิน ไม่มีตัวสะกดมีตัวสะกดไม่มีตัวสะกดมีตัวสะกดไม่มีตัวสะกดมีตัวสะกด –ะ–ั–¹–า–า––ำ(ไม่มี) –ิ–ิ––ี–ี–ใ–(ไม่มี) –ึ–ึ––ือ–ื–ไ–ไ––⁵ –ุ–ุ––ู–ู–เ–า(ไม่มี) เ–ะเ–็–เ–เ––ฤ, –ฤฤ–, –ฤ– แ–ะแ–็–แ–แ––ฤๅ(ไม่มี) โ–ะ––โ–โ––ฦ, –ฦฦ–, –ฦ– เ–าะ–็อ––อ–อ–²ฦๅ(ไม่มี) –ัวะ(ไม่มี)–ัว–ว– เ–ียะ(ไม่มี)เ–ียเ–ีย– เ–ือะ(ไม่มี)เ–ือเ–ือ– เ–อะ(ไม่มี)เ–อเ–ิ–³, เ–อ–⁴

สระเกิน คือสระที่มีเสียงของพยัญชนะปนอยู่ มี 8 เสียงดังนี้
–ำ /am, aːm/ ประสมจาก อะ + ม (อัม) บางครั้งออกเสียงยาวเวลาพูด (อาม) ใ– /aj, aːj/ ประสมจาก อะ + ย (อัย) บางครั้งออกเสียงยาวเวลาพูด (อาย) ไ– /aj, aːj/ ประสมจาก อะ + ย (อัย) บางครั้งออกเสียงยาวเวลาพูด (อาย) เ–า /aw, aːw/ ประสมจาก อะ + ว (เอา) บางครั้งออกเสียงยาวเวลาพูด (อาว) ฤ /rɯ/ ประสมจาก ร + อึ (รึ) บางครั้งเปลี่ยนเป็น /ri/ (ริ) หรือ /rɤː/ (เรอ) ฤๅ /rɯː/ ประสมจาก ร + อือ (รือ) ฦ /lɯ/ ประสมจาก ล + อึ (ลึ) ฦๅ /lɯː/ ประสมจาก ล + อือ (ลือ) บางตำราก็ว่าสระเกินเป็นพยางค์ ไม่ถูกจัดว่าเป็นสระ
สระบางรูปเมื่อมีพยัญชนะสะกด จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปสระ สามารถสรุปได้ตามตารางด้านขวา
¹ คำที่สะกดด้วย –ะ + ว นั้นไม่มี เพราะซ้ำกับ –ัว แต่เปลี่ยนไปใช้ เ–า แทน ² คำที่สะกดด้วย –อ + ร จะลดรูปเป็น –ร ไม่มีตัวออ เช่น พร ศร จร ซึ่งก็จะไปซ้ำกับสระ โ–ะ ดังนั้นคำที่สะกดด้วย โ–ะ + ร จึงไม่มี ³ คำที่สะกดด้วย เ–อ + ย จะลดรูปเป็น เ–ย ไม่มีพินทุ์อิ เช่น เคย เนย เลย ซึ่งก็จะไปซ้ำกับสระ เ– ดังนั้นคำที่สะกดด้วย เ– + ย จึงไม่มี ⁴ พบได้น้อยคำเท่านั้นเช่น เทอญ เทอม ⁵ มีพยัญชนะสะกดเป็น ย เท่านั้น เช่น ไทย ไชย [แก้] วรรณยุกต์เสียงวรรณยุกต์ ในภาษาไทย (เสียงดนตรีหรือเสียงผัน) จำแนกออกได้เป็น 5 เสียง ได้แก่
เสียงสามัญ (ระดับเสียงกลาง) เสียงเอก (ระดับเสียงต่ำ) เสียงโท (ระดับเสียงสูง-ต่ำ) เสียงตรี (ระดับเสียงกลาง-สูง หรือ ระดับเสียงสูงอย่างเดียว) เสียงจัตวา (ระดับเสียงต่ำ-กึ่งสูง) ส่วน รูปวรรณยุกต์ มี 4 รูป ได้แก่
ไม้เอก ( -่ ) ไม้โท ( -้ ) ไม้ตรี ( -๊ ) ไม้จัตวา ( -๋ ) ทั้งนี้คำที่มีรูปวรรณยุกต์เดียวกัน ไม่จำเป็นต้องมีระดับเสียงวรรณยุกต์เดียวกัน ขึ้นอยู่กับระดับเสียงของอักษรนำด้วย เช่น ข้า (ไม้โท) ออกเสียงโทเหมือน ค่า (ไม้เอก) เป็นต้น
[แก้] ไวยากรณ์ภาษาไทยเป็นภาษาคำโดด คำในภาษาไทยจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปไม่ว่าจะอยู่ในกาล (tense) การก (case) มาลา (mood) หรือวาจก (voice) ใดก็ตาม คำในภาษาไทยไม่มีลิงก์ (gender) ไม่มีพจน์ (number) ไม่มีวิภัตติปัจจัย แม้คำที่รับมาจากภาษาผันคำ (ภาษาที่มีวิภัตติปัจจัย) เป็นต้นว่าภาษาบาลีสันสกฤต เมื่อนำมาใช้ในภาษาไทย ก็จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูป คำในภาษาไทยหลายคำไม่สามารถกำหนดหน้าที่ของคำตายตัวลงไปได้ ต้องอาศัยบริบทเข้าช่วยในการพิจารณา เมื่อต้องการจะผูกประโยค ก็นำเอาคำแต่ละคำมาเรียงติดต่อกันเข้า ภาษาไทยมีโครงสร้างแตกกิ่งไปทางขวา คำคุณศัพท์จะวางไว้หลังคำนาม ลักษณะทางวากยสัมพันธ์โดยรวมแล้วจะเป็นแบบ 'ประธาน-กริยา-กรรม'
[แก้] การยืมคำจากภาษาอื่นภาษาไทยเป็นภาษาหนึ่งที่มีการยืมคำมาจากภาษาอื่นๆค่อนข้างสูงมาก มีทั้งแบบยืมมาจากภาษาในตระกูลภาษาไท-กะได ด้วยกันเอง และข้ามตระกูลภาษา โดยส่วนมากจะยืมมาจากภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต และภาษาเขมร ซึ่งมีทั้งรักษาคำเดิม ออกเสียงใหม่ สะกดใหม่ หรือเปลี่ยนความหมายใหม่ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน
บางครั้งเป็นการยืมมาซ้อนคำ เกิดเป็นคำซ้อน คือ คำย่อยในคำหลัก มีความหมายเดียวกันทั้ง เช่น
ดั้งจมูก โดยมีคำว่าดั้ง เป็นคำในภาษาไต ส่วนจมูก เป็นคำในภาษาเขมร อิทธิฤทธิ์ มาจาก อิทธิ (iddhi) ในภาษาบาลี ซ้อนกับคำว่า ฤทธิ (ṛddhi) ในภาษาสันสกฤต โดยทั้งสองคำมีความหมายเดียวกัน [แก้] คำที่ยืมมาจากภาษาบาลี-สันสกฤตคำจำนวนมากในภาษาไทย ไม่ใช้คำในกลุ่มภาษาไต แต่เป็นคำที่ยืมมาจากกลุ่มภาษาสันสกฤต-ปรากฤต โดยมีตัวอย่างดังนี้
รักษารูปเดิม หรือเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย วชิระ (บาลี:วชิระ [vajira]), วัชระ (สันส:วัชร [vajra]) ศัพท์ (สันส:ศัพทะ [śabda]), สัท (เช่น สัทอักษร) (บาลี:สัททะ [sadda]) อัคนี และ อัคคี (สันส:อัคนิ [agni] บาลี:อัคคิ [aggi]) โลก (โลก) - (บาลี-สันส:โลกะ [loka]) ญาติ (ยาด) - (บาลี:ญาติ (ยา-ติ) [ñāti]) เสียง พ มักแผลงมาจาก ว เพียร (มาจาก พิริยะ และมาจาก วิริยะ อีกทีหนึ่ง) (สันส:วีรยะ [vīrya], บาลี:วิริยะ [viriya]) พฤกษา (สันส:วฤกษะ [vṛkṣa]) พัสดุ (สันส: [vastu] (วัสตุ); บาลี: [vatthu] (วัตถุ)) เสียง -อระ เปลี่ยนมาจาก -ะระ หรดี (หอ-ระ-ดี) (บาลี:หรติ [harati] (หะระติ)) เสียง ด มักแผลงมาจาก ต หรดี (หอ-ระ-ดี) (บาลี:หรติ [harati] (หะระติ)) เทวดา (บาลี:เทวะตา [devatā]) วัสดุ และ วัตถุ (สันส: [vastu] (วัสตุ); บาลี: [vatthu] (วัตถุ)) กบิลพัสดุ์ (กะ-บิน-ละ-พัด) (สันส: [kapilavastu] (กปิลวัสตุ); บาลี: [kapilavatthu] (กปิลวัตถุ)) เสียง บ มักแผลงมาจาก ป กบิลพัสดุ์ (กะ-บิน-ละ-พัด) (สันส: [kapilavastu] (กปิลวัสตุ); บาลี: [kapilavatthu] (กปิลวัตถุ)) บุพเพ และ บูรพ (บาลี: [pubba] (ปุพพ)) "'ดูเพิ่ม"'
อักษรไทย ไตรยางศ์ คำราชาศัพท์ คำที่มักเขียนผิด ภาษาในประเทศไทย วันภาษาไทยแห่งชาติ ภาษาวิบัติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น